CWKONLINE
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
CWKONLINE

CWKONLINE
 
HomePageHomePage  บ้านบ้าน  GalleryGallery  ค้นหาค้นหา  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 เลือกเรียนอย่างไร...ให้รุ่ง

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
good
นักโพสมือใหม่
นักโพสมือใหม่
good


Aquarius จำนวนข้อความ : 26
Points : 78
Registration date : 11/08/2010

เลือกเรียนอย่างไร...ให้รุ่ง Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เลือกเรียนอย่างไร...ให้รุ่ง   เลือกเรียนอย่างไร...ให้รุ่ง Icon_minitimeFri Aug 13, 2010 8:20 pm

ถ้าเรารู้จัก “จุดหมายปลายทาง” จะทำให้การวางแผนเดินทางง่ายขึ้น เพราะเหลือเพียงเลือกพาหนะ และฤกษ์ยาม ก้าวขาออกจากบ้านเท่านั้น

แต่เส้นทางชีวิต แม้ว่าคนเราจะเลือก หรือ กำหนดเองได้ แต่พอเจอสภาพแวดล้อม, การเปลี่ยนแปลงของสังคม และวันเวลา ก็ทำเอาจุดหมายที่เคยวาดหวังไว้ ต้องคลาดเคลื่อนไป... บางทีไปไกลเกินกว่าที่ตั้งใจไว้มากมาย

ตอนเด็กๆ คุณครูมักจะตั้งคำถามว่า “พอโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร ?”

ส่วนใหญ่คำตอบจะออกแนวอาชีพ ตั้งแต่ ตำรวจ, ทหาร, พยาบาล, คุณหมอ ใฝ่สูงจากนั้นก็เป็นกัปตัน, แอร์โฮสเตส หรือนักบินอวกาศ

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “ความฝัน” ของวันที่วัยไม่เกินประถมหก

แต่พอเริ่มเข้ามัธยม หรือ ขึ้นชั้นสายอาชีพ ความฝันเหล่านั้น แทนที่จะชัดเจนขึ้น เหมือนระยะทางที่ใกล้ถึงเป้าหมาย มันกลับพล่าเลือนไปจากความรู้สึกนึกคิดและแรงยุจากคนรอบข้าง ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการกำหนดจุดหมายปลายทาง

“คะแนนเธอดีอย่างนี้ ทำไมไม่เลือกเรียนบัญชี”

“พ่อเป็นหมอ ลูกก็น่าจะเรียนหมอ”

“เรียนคณะนี้ดีกว่า จบง่ายดี”

“ตอนนี้เขานิยมเรียน MBA จบมามีงานให้ทำทันที”

การตัดสินใจเลือกเรียนในระดับที่สูงขึ้นของใครหลายคนจึงมิได้ถูกกำหนดเพียงแรงปราถนาของตนลำพัง บ้างก็เรียนตามเพื่อน, เรียนตามคำบัญชาของผู้ปกครอง หรือขอให้ได้เรียนต่อไปก่อน จบแล้วค่อยว่ากันใหม่.....

การขอให้ได้เรียนต่อจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าความคิดที่ว่าเรียนแล้วได้อะไร

เรียนแล้วจะเอาไปประกอบอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองอย่างไร ?

หากเลือกเรียนในระบบหรือคณะที่สอนให้ต้องไปเป็นลูกจ้างคนอื่น.....เมื่อจบออกมาไม่มีผู้ว่าจ้าง ก็เริ่มต้นงานของตนเองไม่เป็น ?!

ทุกวันนี้จึงไม่มีใครกล้าออกมาการันตีว่าใครจะเป็น “บัณฑิตไทยคนสุดท้าย” ที่จบออกมาแล้วหางานทำไม่ได้ แล้วต้องฆ่าตัวตาย!!!

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ดังนั้น หากพิเคราะห์ให้ดีแล้ว จุดหมายปลายทางของชีวิตคน ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไป แต่หมายถึงการที่จบการศึกษาออกมาแล้ว ต้องสามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ทดแทนผู้มีพระคุณ และรู้จักตอบแทนคืนสู่สังคมได้ กระบวนการศึกษา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยจึงยิ่งต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบ มากกว่าการเรียนตามเพื่อน หรือ ไม่กล้าขัดใจแม่...

แน่นอนว่าในการเรียนช่วงประถม หรือมัธยม ด้วยวัยวุฒิเพียงเท่านี้ การตัดสินใจเลือก “อนาคต” คงเป็นเรื่องยากสำหรับตัวเอง ช่วงศึกษาระหว่างนี้ หลายสถาบันจึงหา “ตัวช่วย” มาให้ เรียกว่า “ครูแนะแนว”

“ครูแนะแนว” ต้องเป็น คน ที่เข้าใจเรื่องของ “ปัจเจกบุคคล” และที่สำคัญควรประสานงานกับครูประจำชั้นซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็กคนนั้นมากกว่า ว่า เด็กมีพฤติกรรมอย่างไร, ชอบหรือถนัดอย่างไร จึงจะให้คำปรึกษาที่ดีได้

สิ่งสำคัญของ “ครูแนะแนว” นอกจากเป็นผู้รอบรู้ และทันกระแสสังคมแล้ว การให้คำตอบจึงควรเป็น “ทางเลือก” พร้อมเหตุผลให้นักเรียนพิจารณาเป็นรายบุคคล ไม่ได้อิงกระแสตลาดขณะนั้นว่า วิชาชีพดังกล่าวกำลังบูม เพราะอย่าลืมว่าอีก 4 ปี เด็กจึงจะเรียนจบ ถึงวันเวลานั้น อาชีพนั้นอาจกลายเป็นอดีตไปแล้วก็ได้ เหมือนพนักงานธนาคารที่ปัจจุบัน ถูกตู้เอทีเอ็มมาแย่งตำแหน่งไปนับพันอัตรา...

การรู้จักพยากรณ์อนาคตได้อย่างใกล้เคียง จึงจะนับว่าเป็น “คำปรึกษาที่ดี”

“คำปรึกษา” จากครูแนะแนวก็ถือเป็น “ข้อมูล” ที่ควรนำมาร่วมพิจารณาตัดสินใจ

ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่จะนำมาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ “อนาคต” ของตนเอง โดยเฉพาะการที่จะเลือกเรียนคณะใด ในระดับที่สูงขึ้นไปนั้น ต้องรู้จักค้นหาสิ่งที่ตนเองทำได้ดี, ทำแล้วมีความสุข และชอบที่จะไขว่คว้าหาความรู้ในเรื่องดังกล่าว เมื่อรู้จักเรื่องนั้นๆ ดีแล้วก็ต้องรู้ต่อไปว่าควรจะหาความรู้เพิ่มเติมจากคณะใด เปรียบเทียบวิชาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยที่มีเปิดสอน โดยเฉพาะการหาข้อมูลต่างๆในปัจจุบัน สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตอย่างมากมาย ไม่เว้นแม้แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศด้วยระบบออนไลน์

การเรียนในระดับมัธยมต้น จึงไม่ควรปิดกั้นตนเอง ใส่ใจในทุกวิชาทั้งด้านคณิตศาสตร์ ภาษา หรือใช้จินตนาการ อย่าง ชอบวาดภาพ ส่งงานไปแล้วมักได้คะแนนดี เพื่อนฝูงยอมรับ มีผลงานติดบอร์ดบ่อย แบบนี้ก็น่าจะไปได้ดีกับคณะศิลปศาสตร์

ค้นตนเองให้พบก็เท่ากับเจอ “จุดหมาย” ไปกว่าครึ่งแล้ว

จากนั้นศึกษาต่อไปว่ามีรุ่นพี่ที่จบคณะนั้นๆ ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตประกอบสัมมนาชีพอย่างไร จัดสรรเวลาไปพูดคุย จะได้ความรู้ว่าควรเตรียมตัวเรียนอย่างไร, สอบอย่างไร จึงจะสำเร็จออกมาได้ และที่สำคัญยังถือเป็นการเชื่อมสายสัมพันธ์ เพื่ออนาคตจบออกมาแล้วจะได้มีโอกาสฝึกงานหาประสบการณ์เพิ่มพูน..

การเลือกเรียนคณะใดให้รุ่ง จึงต้องพิจารณาจาก “ภายใน” เป็นหลัก เพราะหากเรา “รัก” ที่จะเรียนรู้ศาสตร์นั้นๆ ก็จะทำให้เราตั้งใจศึกษาเป็นอย่างดี

ส่วน คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่นั้น ปัจจุบันเชื่อว่า ได้กำหนดหลักสูตรเพื่อรองรับอาชีพของผุ้ที่จบการศึกษาไว้แล้ว

เพียงแต่ว่าเวลาที่สอบแข่งขันกัน ใครจะได้ “คะแนน” ที่โดดเด่น เป็นที่จับตาของ “ตลาด” มากกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าต้อง ไม่พ้นคนที่เรียนจาก “ความชอบ” ของตนเอง อยู่ดีนั่นแหละ!!!

***********************

ประวัติผู้เขียน



อ.สิทธิเดช ลีมัคเดช ...ผู้เขียนหนังสือ คิดได้ขายเป็น บนโลกออนไลน์ O วิทยากรพิเศษเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) O พี่เลี้ยงธุรกิจ (Mentor)โครงการ SMEs Service Provider ของศูนย์สร้างสรรนวัตกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม

ขึ้นไปข้างบน Go down
 
เลือกเรียนอย่างไร...ให้รุ่ง
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
CWKONLINE :: ห้องแนะแนว-
ไปที่: