CWKONLINE
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
CWKONLINE

CWKONLINE
 
HomePageHomePage  บ้านบ้าน  GalleryGallery  ค้นหาค้นหา  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 *** แน่ใจหรือ อยากเป็นหมอ ***...

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
good
นักโพสมือใหม่
นักโพสมือใหม่
good


Aquarius จำนวนข้อความ : 26
Points : 78
Registration date : 11/08/2010

*** แน่ใจหรือ อยากเป็นหมอ ***... Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: *** แน่ใจหรือ อยากเป็นหมอ ***...   *** แน่ใจหรือ อยากเป็นหมอ ***... Icon_minitimeThu Aug 12, 2010 11:11 am

แน่ใจหรือ ว่าอยากเรียนหมอ

ผู้เขียน : หมอจันท์
ข้อมูลจาก http://campus.sanook.com/teen_zone/senior_01651.php

“หนูโตขึ้นอยากเป็นอะไร?”
“อยากเป็นหมอค่ะ/ครับ”

ได้รับคำตอบเช่นนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็คงหน้าบาน ด้วยคิดว่าลูกฉันช่างเป็นเด็กรักดีจริงๆ โตขึ้นจะได้มีอาชีพที่มีเกียริติ มีรายได้สูง ไม่มีวันตกงาน และยังเป็นที่พึ่งของพ่อแม่ ญาติพี่น้องยามเจ็บป่วยได้ด้วย

แต่เบื้องหลังของข้อดีต่างๆ เหล่านี้ อาจมีข้อเสียต่างๆ อยู่อีกมากมาย ซึ่งหากลูกเราไม่เหมาะกับอาชีพนี้ อาจเท่ากับการผลักดันให้เขาจมจ่อมอยู่กับความทุกข์ไปชั่วชีวิต

มีแพทย์อีกมากมายที่เลือกเรียนแพทย์ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นคนเรียนดี เรียนเก่ง จนไม่สามารถไปเลือกเรียนอย่างอื่นได้(เดี๋ยวจะว่าไม่เก่งพอ) คุณพ่อคุณแม่เองก็อดภูมิใจไม่ได้ ต้องคุยอวดไปทั่วว่าลูกฉันสอบติดหมอนะ ผู้คนรอบข้างก็จะมองด้วยสายตาทึ่งแกมชื่นชม

เมื่อแรกเริ่มเข้าเรียนในระยะเตรียมแพทย์ วิชาที่เรียนก็จะยังคล้ายๆ กับการเรียนมัธยมปลาย แต่เนื้อหาอาจลึกลงไปทางด้านวิทยาศาสตร์มากกว่า เด็กที่เรียนดีมาแล้วจากชั้นมัธยมจะรู้สึกว่าไม่ยากเย็นอะไรที่จะเข็นตัวเองให้ผ่านไปได้สบายๆ (ไม่ต้องตั้งใจเรียนเพื่อเอาเกียรตินิยมหรอก ก็เข้าแพทย์ได้แล้วนี่) แต่ในบางช่วงของการเรียนเด็กบางคนก็อาจเปลี่ยนไปเป็นเด็กที่เรียนตกแล้วตกอีกได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยว่าเคยเป็นเด็กที่เรียนดีมากๆ มาก่อน บางคนถึงกับโดนให้ออกเพราะเรียนหลายปีเกินไปก็ยังเรียนไม่จบ (มักโดนเพื่อนแซวลับหลังว่าเรียนละเอียด) ช่วงแรกนี้ใช้เวลาแค่ 1-2 ปี

ต่อมาเป็นช่วงพรีคลินิก(preclinic) หรือเรียกกันติดปากว่า “ข้ามฟาก” สาเหตุสมัยก่อนต้องข้ามไปเรียนที่โรงพยาบาลศิริราชเพียงที่เดียว ใช้เวลาอีก 2 ปี เป็นการเรียนปูพื้นฐานเกี่ยวกับโรคต่างๆ เรียนกายวิภาค เรียนเภสัชวิทยาเป็นต้น ช่วงจะเริ่มเรียนค่อนข้างหนัก วิชาที่เรียนจะใช้การท่องจำค่อนข้างมาก เด็กที่ไม่ชอบเรียนแบบท่องจำอาจจะเบื่อ มีการสอบบ่อยมาก ต้องนอนดึกกันเป็นประจำ

ช่วงคลินิก คือปีที่ 4-5-6 จะเรียนทฤษฏีควบคู่ไปกับการเรียนปฏิบัติกับผู้ป่วย มีการแจกผู้ป่วยจริงให้ไปดูแล ตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกายตามที่ได้ร่ำเรียนมา อาจช่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่นตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ จากนั้นก็เขียนรายงาน วิจารณ์ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรคนั้นๆ ช่วงนี้เป็นการเรียนที่หนักมากขึ้นไปอีก ต้องอยู่หอพัก แทบจะต้องตัดขาดจากทางบ้านโดยสิ้นเชิง เด็กที่ไม่เหมาะกับอาชีพนี้จะเริ่มรู้สึกได้ในช่วงนี้ เมื่อมีการเรียนหรือการทำงานที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน อาจถูกตามไปรับผู้ป่วยใหม่เวลาตี 2 ตี 3 ซึ่งเป็นเวลาที่ควรจะได้หลับสบาย อาจต้องอยู่ทำงานในวันหยุดซึ่งใครๆ ก็ได้หยุดไปเที่ยวกัน เวลาปิดเทอมอาจจะสั้นมากหรือบางทีก็ไม่มีเลย

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเรียนในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ค่อนข้างจะเป็นการผสมผสานระหว่างวิชาต่างๆ มากขึ้นในลักษณะการแก้ปัญหาเป็นพื้นฐาน(problem based learning)

ช่วงฝึกงาน (extern หรือ intern) เป็นช่วงการปฏิบัติงานจริงกับผู้ป่วยจริง ต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ป่วย โดยอยู่ในความควบคุมของอาจารย์และแพทย์ประจำบ้านซึ่งทำหน้าที่เหมือนพี่เลี้ยง ช่วงนี้ก็งานหนักมาก อาจต้องอยู่เวรวันเว้นวัน แต่กลางวันก็ไม่ได้หยุดพักผ่อน บางครั้งอยู่เวรกลางคืนไม่ได้นอนทั้งคืนแล้วกลางวันก็ยังต้องออกตรวจคนไข้หรือช่วยผ่าตัด รวมๆ แล้วอาจจะเป็น 36 ชั่วโมงที่ไม่ได้นอนเลย

วันหยุดของแพทย์ไม่ใช่วันที่จะตื่นสายๆ แล้วไม่ต้องออกไปทำงานเลย แต่ยังต้องออกไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยเหมือนวันธรรมดา หรือที่เรียกกันว่าไป round ward (ก็ถ้าคุณไม่ไปดูแล้วจะให้ใครไปดูล่ะ) ซึ่งบางทีกินเวลาเข้าไปครึ่งค่อนวัน ถ้าจะไปเที่ยวกับครอบครัวหรือธุระอื่นๆ ก็อาจจะฝากเพื่อนแพทย์ดูแลได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่จะฝากคนอื่นบ่อยๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่พึงปฏิบัติเนื่องจากการรักษาอาจจะไม่ต่อเนื่องผู้ป่วยเองก็มักจะไม่ค่อยพึงใจนักกับการที่เปลี่ยนหน้าหมอมารักษา

ไม่ว่าแพทย์จะไปที่ไหน ทำอะไรอยู่ ก็มีสิทธิ์ถูกตามมาดูผู้ป่วยได้ทุกเมื่อ บางทีต้องยกเลิกโปรแกรมที่จะพาครอบครัวไปเที่ยว ขับรถไปแล้วครึ่งทางก็ต้องขับกลับมาถ้าผู้ป่วยเกิดมีปัญหา(แพทย์ที่ดีต้องเสียสละความสุขส่วนตนและของครอบครัวได้) การทำงานหนัก ขาดการพักผ่อนดูแลตัวเองย่อมทำให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดความเครียด จึงพบว่าแพทย์ไทยมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าคนทั่วไปหลายปี

รายได้ของแพทย์ถูกจำกัดด้วยกำลังกายและเวลา จึงไม่สามารถร่ำรวยได้มากนัก ทุกบาททุกสตางค์ต้องใช้แรงงานเข้าแลก หากรับราชการเพียงอย่างเดียวจนเกษียณจะไม่มีโอกาสมีเงินเก็บพอซื้อบ้านดีๆ สักหลัง รถสักคันได้ แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักเลือกที่จะใช้เวลาว่างที่เหลืออยู่จำกัดนี้หารายได้พิเศษด้วยการเปิดคลินิก หรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ขาดการหยุดพักผ่อนมากขึ้นไปอีก

ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ที่มีมากขึ้นในปัจจุบันนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แพทย์หลายๆ คนท้อแท้ บางคนกันเหไปทำอาชีพอื่น บางคนห้ามลูกของตัวเองไม่ให้เรียนแพทย์ บางคนหาทางออกโดยการทำประกันแบบเดียวกับแพทย์ในต่างประเทศ(malpractice insurance) ซึ่งทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

เมื่อคุณรับทราบข้อมูลเหล่านี้แล้วยังยืนยันว่าต้องการเป็นหมอให้จงได้อยู่ก็จงสำรวจตัวของคุณเกี่ยวกับคุณสมบัติต่อไปนี้


ความถนัดทางวิชาเฉพาะที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้แก่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทุกสาขา ภาษาอังกฤษ อาจมีวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาด้วย ปัจจุบันโรงเรียนแพทย์เกือบทุกแห่งจะแยกสอบเอง โดยไม่ผ่านระบบ entrance และมีจำนวนโรงเรียนแพทย์ให้เลือกมากขึ้น เท่าที่พอจะนึกออกได้แก่ จุฬาฯ ศิริราช รามาฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา พระมงกุฎ มศว. ธรรมศาสตร์ นเรศวร และมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีคณะแพทย์ ก็ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2-3 แสนต่อปี (ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัว) และคณะแพทย์ใหม่ล่าสุดที่กำลังจะก่อตั้งก็คือ แม่ฟ้าหลวง


อุปนิสัยส่วนตัว เป็นคนขยัน อดทนสู้งานหนัก อดนอนได้ ไม่โห ฉุนเฉียว มีความเมตตามีคุณธรรม (เพราะสังคมคาดหวังจะให้แพทย์เป็นเช่นนั้น)


ความเป็นลูกแหง่ติดพ่อแม่ ต้องไปอยู่หอพักระหว่างเรียน ต้องออกต่างจังหวัดระหว่างฝึกงาน ระหว่างใช้ทุนรัฐบาล (3 ปี) จะทนได้หรือไม่ สำรวจใจของพ่อแม่เองด้วยว่าทนให้ลูกไปอยู่ห่างไกลได้นานๆ หรือไม่ มีส่วนหนึ่งที่ทั้งพ่อแม่และลูกทนไม่ไหวต้องจ่ายเงินชดเชยให้รัฐบาล(ประมาณ 4 แสนบาท) เพื่อแลกอิสรภาพของลูกกลับคืนมา
การชดใช้ทุนนั้นเป็นหน้าที่ของแพทย์ทุกคนที่เรียนในโรงเรียนแพทย์ของรับบาล โดยจะมีการจับสลากเลือกหลังจากจบการศึกษา ประมาณเดือนเมษายน โดยรอบแรกๆ จะให้เลือกตามความสมัครใจก่อน ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่จังหวัดใหญ่ๆ หรือจังหวัดใกล้กรุงเทพฯจะเต็มก่อน จากนั้นก็จับสลากจนหาที่ลงได้ครบทุกคน คนที่โชคร้ายก็อาจจับไม่ได้จังหวัดที่ต้องการสักที ในรอบหลังๆ จะเหลือแต่จังหวัดที่ไม่มีใครต้องการไปเช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การจ่ายเงินเพื่อชดใช้ทุนนั้นสำหรับบางคนไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับประเทศชาติแล้ว การที่จะผลิตแพทย์ขึ้นมาหนึ่งคนต้องใช้เวลาถึง 6 ปีเป็นอย่างน้อย ต้องลงทุนทรัพยากรไปมากมาย หากเราทราบข้อมูลต่างๆ และประเมินความเหมาะสมของตัวเด็กก็อาจช่วยได้ และเหลือที่ไว้ให้ผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่าได้เข้าไปเรียนจะดีกว่า
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
*** แน่ใจหรือ อยากเป็นหมอ ***...
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
CWKONLINE :: ห้องแนะแนว-
ไปที่: